Sunday, September 28, 2008

อาเทอร์ แกรี่ บิชอป Arthur Gary Bishop - ชายหนุ่มตัณหากลับ 7

อาเทอร์ บิชอบ ถูกตั้งข้อหาในระดับแรก 5 ข้อหา ลักพาตัวเด็ก 5 ข้อหา ข่มขืนใจโดยใช้กำลัง 2 ข้อหา และล่วงละเมิดทางเพศเด็กอีก 1 ข้อหา การตั้งข้อหาท้ายๆ ได้ใช้เฉพาะกับเหยื่อรายหลังๆของเขา ซึ่งหลักฐานทางนิติเวชศาสตร์ เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศยังไม่สูญหายไป แต่ข้อหาที่สำคัญจริงๆ ยังเป็นข้อหาเรื่องการฆาตรกรรม หากทางการหาหลักฐานพิสูจน์ข้อนี้ได้ โทษของเขามีเพียงสถานเดียวคือ ประหารชีวิต

วันพิพากษา

คณะทนายของบิชอป นำโดยทนายโจ คารอล เนสเส็ท-เซล ไร้สิ้นซึ่งความหวังที่จะชนะคดีนี้ คำสารภาพของบิชอป เป็นเครื่องค้ำประกันชีวิตหลังลูกกรงเหล็กของตัวเขาเองแล้ว คณะทนายพยายามทำให้โทษหนักเป็นเบา ด้วยการแก้ต่างให้เขาได้รับโทษข้อหาฆาตรกรรมโดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองมาก่อน แทนที่จะเป็นฆาตรกรรมระดับหนึ่ง คำแก้ต่างก็คืออารมณืและสติสัมปชัญญะที่ไม่ครบบริบูรณ์ของลูกความ เป็นแรงขับให้ลงมือสังหารเหยื่อ เนสเส็ท-เซล กล่าวกับศาลว่า
ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้บิชอปเติบโตมาด้วยความลุ่มหลง และยึดติดแรงดึงดูดทางเพศที่มีต่อเด็กชาย เขาไม่เคยประทุอารมณ์ความรู้สึกเชิงเพศเหล่านั้นออกมา แท้จริงแล้วเขาเป็นเด็กที่โดดเดี่ยวและเต็มไปด้วยความหวาดหวั่น

และหนึ่งในสิ่งซึ่งคณะทนายคณะทนายทำให้กลายเป็นแพะรับบาปก็คือภาพลามกอนาจาร ดร.วิคเตอร์ คลิน พยานผู้เชี่ยวชาญวัตถุเหล่านี้ให้การเป็นพยานว่า ภาพดังกล่าวทำให้บิชอปพิกลพิการ จนไม่สามารถต้านทานแรงดึงดูดจากเด็ก หรือแรงกระตุ้นที่ปลุกเร้าให้ลงมือฆ่า

อย่างไรก็ตาม การขึ้นให้การเป็นพยานของ ดร.วิคเตอร์ คลิน ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างแต่อย่างใด คณะลูกขุนชาย 5 คน และ หญิง 7 คน ซึ่งป็นคณะลูกขุนไต่สวน บิชอบ กินเวลา 6 สัปดาห์ ตัดสินว่าเขามีความผิดในการฆาตรกรรมระดับแรก 5 ข้อหา ลักพาตัว 5 ข้อหา และล่วงละเมิดทางเพศแก่เด็ก 1 ข้อหา

เทปคำสารภาพส่วนหนึ่งของ บิชอบ ถูกนำมาเปิดในศาลขณะพิจารณาโทษ คณะลูกขุนได้ฟังคำสารภาพดังกล่าว บางครั้งถึงกับร้องไห้เมื่อได้ยินเสียงบิชอปหัวเราะ หรือบางทีก็ทำเสียงแหลมสูงเพื่อล้อเลียนเด็กชายที่ร้องขอความเมตตา ไม่มีใครประหลาดใจเลยเมื่อเขาถูกตัดสินประหารชีวิต

นักกฎหมายให้บิชอปเลือกวิธีประหารชีวิตระหว่างการถูกยิงเป้ากับการฉีดยาพิษ ไม่ต้องเสียเวลาคิด บิชอปเลือกเข็มฉีดยา

ยินดีตาย

ในไม่ช้า หลังจากตัดสินลงโทษบิชอปขณะเข้าคิวรอการประหาร ชีวิตที่เรือนจำรัฐยูทาห์ มีข่าวลือว่ามีคนๆหนึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร เสนอให้เงินรางวัล 5000 ดอลลาร์เพื่อสังหารเขา ไม่เพียงเท่านั้น ยังลือกันต่อไปว่า ได้มีการเสนอเงินรางวัลอีก 5000 ดอลลาร์ สำหรับค่าหัวของ ดักลาส บิชอป อีกด้วย นอกจากนี้ ได้มีการเสนอรางวัลชุดใหญ่นับสิบชุดเพื่อเป็นค่าหัวของพี่น้องคู่นี้ ร้อยตำรวจเอกเคร็ก ราสมูเซน หัวหน้าชุดผู้รักษาความปลอดภัยของเรือนจำ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า
ปกติแล้วข่าวลือลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก แต่ในกรณีของบิชอป เป็นเรื่องที่เราต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดขึ้นจริง ผลลัพธ์จะเลวร้ายมาก เพราะเราได้รับคำเตือนล่วงหน้า

แท้จริงแล้ว ไม่ได้มีความที่จะคร่าชีวิตของพี่น้อง บิชอป ไม่ว่าคนใดคนหนึ่ง เนื่องจากสถานะของเขาคือผู้ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ทำให้ทั้งคู่เป็นคนชั้นต่ำ กระทั่งในเรือนจำที่เต็มไปด้วยนักโทษอุกฉกรรจ์อยู่มากแล้วก็ตาม สำหรับ บิชอป เกิดบางสิ่งบางอย่างในจิตใจของเขาราวกับว่าเขาได้ฟื้นความรู้สึกแรงกล้า ในทางศาสนาเหมือนเมื่อครั้งที่เขาพบในวัยเยาว์
ด้วยความรู้สึกที่เศร้าสลด กับความรู้สึกผิดอย่างใหญ่หลวง เขากล่าวกับสื่อ เขาตระหนักว่าผมได้อนุญาตให้ซาตานได้ครอบงำตัวผม

การสำนึกผิดหมายถึงโอกาสของหัวใจอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม บิชอป ไม่ได้ละทิ้งความหวังที่จะยังคงมีชีวิตอยู่บนโลกนี้อยู่ไปเสียหมด ทนายของเขานำคำร้องไปขออุธรณ์เพื่อให้ไต่สวนอีกครั้ง แต่ศาลฏีกาของยูทาห์ปฎิเสธคำร้องดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ บิชอป จึงยุติความหวังและเตรัยมตัวเข้าสู่ความตาย วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เขาไล่ทนายออก และเกลี้ยกล่อมให้พวกเขายุติการอุธรณ์ต่อไป วันที่ 2 พฤษภาคม 1988 ศาลฏีกาแห่งยูทาห์ยุติการรอคอยที่ไม่แน่นอนของเขา และมีคำสั่งให้ไต่สวนเพื่อกำหนดวันประหารชีวิตของ บิชอป


No comments: