เขาตรวจสอบพบว่า ห้องนอนถูกรื้อค้น แต่ไม่พบร่องรอยการบุกรุก หรือต่อสู้ ไม่มีอาวุธ ที่ใช้ฆาตรกรรม วิลเลี่ยม สังเกตุว่า วอลเลซสงบเยือกเย็น ผิดธรรมดา
เวลาประมาณ 4 ทุ่ม เจ้าหน้าที่ชันสูตรพลิกศพก็มาถึง จากการตรวจพบว่า จูเลียเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเย็น โดยการถูกตีถึง 11 ครั้ง ถึงแม้ว่าเธออาจเสียชีวิตจากการถูกตีตั้งแต่ครั้งแรกก็ตาม วอลเลซให้การกับตำรวจว่า เย็นนั้นเขากลับมาบ้านเวลา 18.05 น. ดื่มชาที่ภรรยาชงให้ และออกจากบ้านในเวลา 18.45 น.
ตำรวจสงสัยวอลเลซ จึงพยายามสืบหาตัวนายเตรลทรัฟ แต่ก็ไม่พบ และจากการตรวจสอบพบว่าชายที่อ้างว่าชื่อเครลทรัฟ โทรมาจากตู้โทรศัพท์ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านวอลเลซไปเพียง 400 หลาเท่าันั้น วอลเลซถูกจับในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ในข้อหาฆาตรกรรม ภรรยา ตำรวจเชื่อว่าเขาสร้างเรื่องนาย เครลทรัฟ ขึ้นมาเพื่อเป็นข้ออ้างให้กับตัวเอง จึงเป็นไปได้ที่เขาลงมือ สังหารภรรยาและมีเวลาพอที่จะวิ่งไปยังจุดที่ขึ้นรถราง วอลเลซปฎิเสธ ทุกข้อกล่าวหา
ปลายเดือนเมษายนมีการพิจารนาคดีในชั้นศาล ซึ่งวอลเลซมีท่าทีเฉยเมย และดูคร่ำครึ รวมถึงมีงานอดิเรกที่ใช้สติปัญญาอย่างหมากรุก ทำให้เขาดูเหมือน ฆาตรกรจอมวางแผน ที่สร้างฉากฆาตรกรรมสมบูรณ์แบบ
มีการเรียกตัว แซมมวล บีทตี้ มาเป็นพยาน เขาให้การว่าคนที่โทรมาเสียงค่อนข้างแหบ และไม่ใช่เสียงของวอลเลซ มีข้อสงสัยว่ามีใครบ้างที่ทราบว่า วอลเลซ จะมาเล่นหมากรุกที่สโมสรในวันนั้น อัยการชี้ว่า มีเพียงตัว วอลเลซ เองเท่านั้นที่รู้ว่าเขาจะไปถึงสโมสรในเย็นวันนั้น ซึ่ง วอลเลซ ก็ให้การว่า เขาไม่ได้บอกใครว่าจะไปที่สโมสร แต่มีหลักฐานสำคัญที่ทนายของ วอลเลซ นำมาใช้โต้แย้งในศาลก็คือ ตารางการแข่งขันที่ติดอยู่ที่สโมสรเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยมีชื่อของผู้แข่งขันรวมถึง วอลเลซ รวมอยู่ด้วย การแข่งขันเริ่มวันที่ 10 พฤศจิกายน ไปจนถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ และ วอลเลซ มีกำหนดต้องแข่งขันวันที่ 19 มกราคม
แต่ก็ยังมีข้อน่าสงสัยก็คือ วอลเลซ มาแข่งครั้งแรกในวันที่ 10 พฤศจิกายนหลังจากนั้นก็ไม่ได้มาแข่งอีก ทำไม เครลทรัฟ ถึงสรุปว่า วอลเลซ จะมาในวันที่ 19 มกราคม ??
อีกอย่างหนึ่งหาก เครลทรัฟ วางแผนให้ วอลเลซ ออกจากบ้านในคืนวันอังคาร ทำไมเขาไม่ทิ้งโน๊ตไว้ที่ประตูบ้านแทนการโทรศัพท์ไปที่สโมสร อย่างไรก็ตามมีพยานเป็นเด็กส่งนม เห็นจูเลีย ยังมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 18.30 ถึง 18.45 น. จึงเป็นไปไม่ได้ที่ วอลเลซ จะเป็นฆาตรกร
แม้ว่าหลักฐานจะอ่่อน คณะลูกขุนก็ตัดสินใจว่า วอลเลซ ผิด และมีโทษแขวนคอ แต่ในวันที่ 19 พฤาภาคม ค.ศ.1931 ศาลอุธรณ์ กลับคำตัดสินของลูกขุน เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ ที่จะพิสูจน์ว่า วอลเลซ ผิดตามข้อกล่าวหา
Thursday, September 25, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment